วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561

คณะผู้จัดทำ



สมาชิกผู้จัดทำ
น.ส.แก้วสิริ  แสนปากดี เลขที่ 34
น.ส.เบญจมาศ  หอมจัด เลขที่10
น.ส.สร้อยอรุณ  ราชบุรี  เลขที่ 35
น.ส.นภัสวรรณ  ลาแสง  เลขที่ 17

เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่างNano-simและE-sim


จากการศึกษาข้อมูลได้ข้อสรุปดังนี้
ข้อดีของNano-sim
1.มีขนาดสามารถจับต้องได้
2.รองรับในโทรศัพท์ทั่วไป
3.เปลี่ยนซิมการ์ดได้ด้วยการถอดกรอบโทรศัพท์
4.ใช้ได้ทั้งแอนดรอยและไอโอเอส
5.เปลี่ยนเครือข่ายได้โดยการสับเปลี่ยนซิมการ์ดใหม่
ข้อดีของE-sim
1.ไม่สิ้นเปลืองในการซื้อซิมการ์ด
2.ซิมการ์ดติดอยู่กับตัวเครื่อง
3.ประหยัดพื้นที่ในเครื่องโทรศัพท์
4.ไม่ต้องซื้อซิมการ์ดใหม่เมื่อจะเปลี่ยนเครือข่าย
5.ไม่สูญหายจากตัวเครื่อง
ข้อเสียของNano-sim
1.สิ้นเปลืองต่อการสับเปลี่ยน
2.ไม่สะดวก
3.สิ้นเปลืองพื้นที่โทรศัพท์
4.สูญหายง่าย
5.หากต้องการเปลี่ยนต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อซิมการ์ดใหม่
ข้อเสียของE-sim
1.รองรับเพียงในสมาทโฟน
2.แอนดรอยทั่วไปยังใช้ไม่ได้
3.ถ้าระบบมีปัญหาไม่สามารถถอดซิมการ์ดเปลี่ยนได้
4.มีราคาแพง
5.ยังไม่นำเข้าไทย



E-sim คืออะไร

ซิมการ์ด (SIM card) เป็นชิปขนาดเล็กที่ผู้ให้บริการเครือข่ายมอบให้ผู้ใช้บริการ เมื่อใส่ชิปดังกล่าวเข้าไปในสมาร์ทโฟนจะสามารถใช้งานเครือข่ายนั้นๆ ได้ตามเงื่อนไขหรือแพคเกจที่สมัครไว้ ซิมการ์ดสามารถถอดเปลี่ยนได้ซึ่งข้อดีก็คือผู้ใช้บริการสามารถเปลี่ยนสมาร์ทโฟนจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องโดยที่ยังใช้หมายเลขโทรศัพท์เบอร์เดิม
แต่ว่ารูปแบบของซิมการ์ดในอนาคตกำลังจะเปลี่ยนไป!
GSMA (GSM Association) องค์กรตัวแทนบริษัทโทรคมนาคมกว่า 800 บริษัททั่วโลกและบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายอีกหลายร้อยบริษัทเริ่มมีการพูดคุยเกี่ยวกับการควบคุมซิมการ์ดจากระยะไกล (Remote SIM Provisioning) ซึ่งเป็นวิธีการที่นำ embedded SIM (eSIM) หรือซิมการ์ดแบบฝังตัวบนอุปกรณ์มาใช้งานแทนซิมการ์ดแบบที่ถอดเปลี่ยนได้
eSIM เป็นซิมการ์ดแบบที่สามารถตั้งโปรแกรมได้ เหมาะสำหรับติดตั้งบนอุปกรณ์อย่างถาวรในระหว่างการผลิตอย่างเช่น smartwatch โดยเรามีบทสัมภาษณ์ของ Gareth Davies ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ GSMA ที่ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประโยชน์ของการนำ eSIM มาใช้งาน
"เมื่อพิจารณาในแง่ของขนาด ซิมการ์ดแบบฝังตัวหรือ eSIM จะช่วยให้อุปกรณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับสมาร์ทโฟนมีขนาดที่เล็กลง อย่างเช่นเทคโนโลยีอุปกรณ์สวมใส่ที่มีขนาดเล็ก" Davies กล่าว
แน่นอนว่าเมื่อถึงคราวที่สมาร์ทโฟนจะเปลี่ยนไปใช้งาน eSIM นั่นต้องส่งผลกระทบกับผู้บริโภคอยู่แล้ว แต่ท้ายที่สุดผู้บริโภคและผู้ผลิตสมาร์ทโฟนก็จะได้รับประโยชน์จากการกำจัดช่องใส่ซิมการ์ด พื้นที่ภายในสมาร์ทโฟนกลายเป็นของมีค่าหลังจากเริ่มมีการตัดเทคโนโลยีที่กลายเป็นส่วนเกินออกไปอย่างเช่น ช่องเสียบหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร (iPhone 7LeeCo Le 2Moto Z) ทำให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนมีพื้นที่ภายในเครื่องเหลือเยอะขึ้นสำหรับพัฒนาส่วนประกอบอื่นๆ อย่างเช่นเพิ่มความจุแบตเตอรี่หรือฟีเจอร์กันน้ำที่ได้ประโยชน์จากการกำจัดจุดเสี่ยงที่น้ำจะเข้าเครื่องออกไปได้อีกหนึ่งจุด
"GSMA กำลังทำงานร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่าย ผู้ผลิตอุปกรณ์สมาร์ทโฟน และผู้ผลิตซิมการ์ดเพื่อสร้างมาตรฐานและข้อกำหนดร่วมกันในการควบคุมซิมการ์ดจากระยะไกลแบบไร้สายไปยังอุปกรณ์ของผู้บริโภค" Davies กล่าว "นี่จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถดาวน์โหลดข้อมูลแพคเกจจากผู้ให้บริการเครือข่ายไปยังซิมการ์ดแบบฝังตัวบนอุปกรณ์ เช่น แท็บเล็ต อุปกรณ์สวมใส่หรือสมาร์ทโฟนได้โดยตรง ซึ่งภายหลังจากร่างมาตรฐานการควบคุม eSIM บนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทางฝั่งผู้ให้บริการและฝั่งผู้ผลิตเวอร์ชั่นแรกเสร็จแล้ว GSMA จะออกมาตรฐานการควบคุม eSIM เวอร์ชั่นที่สองซึ่งครอบคลุมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องใดๆ ทุกชิ้นซึ่งรวมถึงสมาร์ทโฟนและโทรศัพท์ของผู้บริโภคในอีกไม่กี่วันข้างหน้า"
แล้วอะไรคือประโยชน์ด้านอื่นๆ เมื่อเปลี่ยนมาใช้ eSIM ?
สิ่งหนึ่งที่น่าคิดคือว่า eSIM จะทำให้ผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ หาวิธีใช้งานสมาร์ทโฟนอย่างไร ในเมื่อค่าบริการโรมมิ่งระหว่างประเทศมักจะมีราคาค่อนข้างสูงจนทำให้ผู้บริโภคต้องยอมเลือกตัวเลือกอื่นที่ถูกกว่า เช่น การใช้บริการ Wi-Fi การหาซิมท้องถิ่นมาใช้งาน ซึ่งเมื่อถึงจุดที่ eSIM ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายอาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้น
ในปี ค.ศ. 2014 Apple เปิดตัว Apple SIM ซึ่มเป็นซิมการ์ดที่ตั้งโปรแกรมได้สำหรับใช้งานบน iPad Air 2 และ iPad Pro ซึ่งผู้บริโภค (บางประเทศ) นิยมนำมาใช้งานเมื่อเดินทางไปต่างประเทศโดยผู้บริโภคสามารถเลือกใช้งานเครือข่ายที่ต้องการได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนซิม
ในบางประเทศเช่นอินเดียและจีน การใช้โทรศัพท์สองซิมกลายเป็นความนิยมของคนในชาติ ซึ่งรูปแบบการทำงานดังกล่าวยังไม่ถูกระบุอยู่ในมาตรฐาน eSIM ปัจจุบัน แต่ Davies กล่าวว่า "อาจจะเป็นหัวข้อที่เราจะนำมาพูดคุยกันอีกครั้งในเวอร์ชั่นต่อไป"
ที่ว่ามาทั้งหมดนี้คงไม่ได้สวยงามอย่างภาพที่คิดไว้ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เช่นนี้จะต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ผลิต ผู้ให้บริการเครือข่ายและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อีกมากมาย มันเป็นก้าวหนึ่งที่เป็นก้าวต่อไปซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนชั่วคราวและน่าปวดหัวสำหรับบางคน แต่หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว
ข้อมูลทั้งหมดดึงมาใช้เพื่อการศึกษา เมื่อครบกำหนดส่งจะลบทิ้ง

Nano-sim คืออะไร

Nano Sim คืออะไร ? ต่างกับ Micro Sim อย่างไร ? นาโนซิม มีขนาดเท่าไรทุกอย่างมีคำตอบ
IT อัพเดทสุดยอดความเคลื่อนไหวกับ iTAllNews.com หลังจากทาง Apple ประกาศใช้ Micro SIM ทำให้เป็นที่ฮือฮาออกมาแล้วครั้งหนึ่ง ได้มีข่าวเตรียมเขย่าวงการ SiM ออกมาอีกครั้งนั่นคือ Nano Sim ที่จะทำให้เทคโนโลยีเล็กลงไปอีกหรือมีขนาดเพียง 12.3 x 8.8 x 0.67 มิลลิเมตรเท่านั้น เราไปรู้จักกับ Nano Sim กัน ?

Nano Sim คืออะไร
ล่าสุด ETSI (European Telecommunications Standards Institute) ได้ทำการตัดสินใจเลือกใช้ Nano Sim ผลงานดีไซน์จาก Apple inc. ซึ่งทางแอปเปิ้ลก็มีแผนที่จะนำไปใช้กับ iPhone 5 (ตามข่าวลือ) ประโยชน์ของเจ้า Nano Sim เห็นจะเป็นเรื่องขนาดของสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตที่กินพื้นที่การใช้งานซิมเล็กลง ทำให้ขนาดต่างๆ ของตัวเครื่องเล็กลงไปได้อีก ซึ่ง Nano Sim มีขนาดแค่เพียง 12.3 x 8.8 x 0.67 มิลลิเมตร เราไปดูพิมพ์เขียวของเจ้า Nano Sim กันเลยครับ

ประเภทของซิมการ์ด

ปัจจุบันเรามีซิมทั้งหมด 3 แบบ ด้วยกันคือ

standard sim เป็นซิมรุ่นแรกที่เราใช้กันมาในยุคแรก ๆ ของโทรศัพท์ จะมีขนาดใหญ่สุด จะใช้กับโทรศัพท์รุ่นหน้าจอขาวดำ หรือรุ่นเก่า ๆ ใหญ่ ๆ 
micro sim  เป็นซิมที่มีขนาด 12x15x0.76 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ย่อส่วนลงมาจาก standard sim
nano sim มีขนาดเล็กลงกว่า micor sim ถึง 40% มีขนาดเพียง 12.3 x 8.8 x 0.67 มิลลิเมตรเท่านั้น ทำให้อุปกรณ์สามารถออกแบบได้บางขึ้นเพื่อใช้กับสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ๆ เช่น ไอโฟนรุ่น 5 เป็นต้นไป


จุดประสงค์ของการที่ทำซิมให้มีขนาดเล็กลงนั่นก็คือ เพื่อจะทำให้มือถือสามารถออกแบบให้บางลง ไม่กินพื้นที่่ในตัวเครื่องนั่นเอง 

NANO SIM คืออะไร NANO SIM เป็น SIM Card รูปแบบใหม่ ที่ถูกออกแบบให้มีขนาดเล็กลงกว่า MICRO SIM ประมาณ 40% ซึ่งมีผลทำให้อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาใช้งานกับ NANO SIM มีขนาดบางลง รองรับการใช้งาน Multi SIM จาก AIS ได้
ตารางเปรียบเทียบขนาดของ NANO SIM
Sim type.jpg

ความเป็นมาของซิมการ์ด

ซิมการ์ดมีได้หลายขนาด โดยขนาดที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดเท่าบัตรประจำตัวฝังด้วยแผงวงจรรวม ขนาดที่เล็กลงมา (กำหนดโดย มินิ ไมโคร และนาโน) ใช้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นที่ใหม่กว่าขึ้นตามลำดับ ปัจจุบันซิมการ์ดนิยมทำไว้บนบัตรขนาดเท่าบัตรประจำตัวแต่มีรอยปรุให้สามารถแยกออกเป็นบัตรขนาดเล็กลงเพื่อสอดลงในตัวเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนี้โทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่นยังมีซิมการ์ดบาง ๆ ฝังไว้กับแผงวงจรพิมพ์ ตารางต่อไปนี้เป็นขนาดของซิมการ์ดที่มีใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อักษรย่อ FF คือ form factor หรือตัวประกอบระบุการย่อส่วน ยิ่งมีค่ามาก ขนาดก็เล็กลง
หลัง Apple Watch Series 3 วางขายในไทยแล้ว แต่เราคงใช้งานมันได้ไม่เต็มที่เท่าไรนัก นั้นก็เพราะ “บ้านเราไม่มี eSIM” แล้วอะไรคือ eSIM มาดูคำตอบในบทความนี้กัน
ปกติซิมการ์ดที่เราคุ้นเคย จะเป็นชิปขนาดเล็ก ที่ได้รับจากผู้ให้บริการเครือข่าย ทำให้อุปกรณ์บางชนิดอย่างแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน สามารถสื่อสารกับผู้อื่นจากระยะไกล และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ แต่เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว ทางสมาคม GSMA (GSM Association) ตัวแทนบริษัทโทรคมนาคมของโลก ได้เปิดตัวเทคโนโลยีเครือข่ายใหม่อย่าง Remote SIM Provisioning (RSP) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า embedded SIM (eSIM) ซิมการ์ดแบบฝังในตัวอุปกรณ์
untitled-2
eSIM คือซิมการ์ดแบบใหม่ จากที่เป็นชิปรูปแบบการ์ดขนาดเล็ก ก็เปลี่ยนมาเป็นชิปฝังในอุปกรณ์เลย ส่งผลให้อุปกรณ์นั้น ๆ ไม่สามารถถอดเปลี่ยนซิมการ์ดได้ แต่แลกกับข้อดีคือ ไม่ต้องทำถาดใส่ซิมการ์ดให้เปลื้องพื้นที่ ทำให้ผู้ออกแบบสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ มีพื้นที่สำหรับใส่ฟีเจอร์เพิ่มเติมได้มากขึ้น
untitled-3
ในเมื่อมีซิมการ์ดในตัวอยู่แล้ว ก็ช่วยให้สะดวกต่อการควบคุมบริการเครือข่ายของเราด้วย สมมุติเราอยากเปลี่ยนเครือข่ายหรือย้ายค่ายใหม่เลย ก็สามารถติดต่อผู้ให้บริการเครือข่ายนั้น ๆ ให้ทำการ Activate ยืนยันข้อมูลจากระยะไกลได้ทันที ไม่ต้องมานอนรอซิมการ์ดใหม่ หรือไปติดต่อที่ศูนย์บริการให้เสียเวลาอีกต่อไป
untitled-4
และข้อดีอย่างสุดท้ายคือ ทำให้พวกอุปกรณ์อัจฉริยะขนาดเล็กอย่างสมาร์ทวอทช์ (Smart Watch) ทำงานแบบ Standalone ได้เลย อย่างการโทรเข้าโทรออก รับส่งข้อความ และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เอง โดยไม่ต้องใช้สมาร์ทโฟนควบคู่เหมือนก่อน ไม่นานมานี้ทาง Apple ก็ได้เปิดตัว Apple WatchSeries 3 สมาร์ทวอทช์ที่รองรับการใช้งาน eSIM ทำให้ผู้ใช้ที่ไม่มี iPhone ก็สามารถใช้งานได้
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีบริการเครือข่ายไหนในประเทศไทยรองรับการใช้งาน eSIM คาดว่าอาจจะได้เห็นภายในช่วงปี 2018 ปีนะจ้ะ